ข้อแนะนำการใช้ระบบทำความเย็น

เครื่องทำความเย็นเป็นอุปกรณ์ที่ได้ออกแบบมา เพื่อให้ชลอการเสื่อมสภาพตามธรรมชาติ ของผลิตภัณฑ์อาหารแต่ละชนิด โดยให้สามารถยืดอายุในการเก็บรักษาให้ ยาวนานและลดความเสี่ยงให้น้อยที่สุด ตามหัวข้อข่างล่างนี้

  • เครื่องจักรทำความเย็นจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับอุณหภูมิและความชื้น ของแต่ละชนิดของผลิตภัณฑ์อาหาร
  • จะต้องควบคุมอุณหภูมิของห้องเย็นให้มีความเที่ยงตรง แม่นยำ และคงที่
  • ผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์แป้ง เนื้อต้มสุก และผลิตภัณฑ์ที่ง่ายต่อการติดเชื้อ ไม่ควรนำไปเก็บรวมกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว ดังนั้น ผลิตผลสดหรือผลิตผลที่ไม่มีสิ่งห่อหุ้ม ควรจะแยกเก็บในห้องเย็นต่างหาก
  • ผลิตภัณฑ์อาหารไม่ควรที่จะเก็บไว้นานในห้องเย็นที่ออกแบบไว้เก็บสินค้าหลากหลายชนิดทั่วไป (General Purpose) เนื่องจากอุณหภูมิรวมอุณหภูมิเดียว ไม่อาจจะเหมาะสมและปลอดภัยกับผลิตภัณฑ์อาหารทุกชนิดได้
  • ผลิตภัณฑ์อาหารที่จะเก็บในระยะสั้นในห้องเย็นทั่วไป (General Purpose) ควรจะเก็บในภาชนะที่ปิดมิดชิด (Air Tight) หรือห่อปิดด้วยแผ่นฟิล์มที่ไม่ให้อากาศซึมผ่านเข้า-ออก
  • ผลิตภัณฑ์เนื้อ ไก่ และปลา ที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการทำให้สุก ไม่ควรที่จะเก็บรวมอยู่ในห้องเย็นกับผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ได้บรรจุอยู่ในภาชนะที่ปิดมิดชิด (Air Tight)
  • การแช่แข็งที่ไม่ถูกวิธี หรือการนำมาละลายและแช่แข็งใหม่ เป็นเรื่องที่อันตรายต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารอย่างมาก
  • ผลิตภัณฑ์สินค้าที่เก็บสต็อกไว้ในห้องเย็นไม่ควรเก็บไว้นาน ควรจะมีการหมุนเวียนเข้า-ออก อย่างสม่ำเสมอ
  • ผลิตภัณพ์อาหารที่ใช้ไม่หมดในแต่ละครั้ง เช่น ชิ้นเนื้อ เนย ฯลฯ ควรรีบนำกลับเข้าห้องเย็นทันที
  • ผลิตภัณฑ์อาหารที่เน่าเสีย หรือคาดว่าจะเน่าเสีย ควรจะนำออกจากห้องเย็นมาทำลายทันที
  • ทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องจักร และภาชนะบรรจุทั้งภายในและภายนอกอย่างสม่ำเสมอ

ตารางอุณหภูมิที่เหมาะสมของการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ (°C)

Products Deg. C
   สินค้าบรรจุในกระป๋อง และน้ำขวด 7 - 10
   ผักและผลไม้ 5 - 8
   ผลิตภัณฑ์แป้ง (Cooked Pastry) 3 - 5
   ผลิตภัณฑ์นม 3 - 5
   ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่ทำสุกแล้ว 3 - 5
   ครีม 2 - 4
   เนื้อสด -1 ~ +1
   เนื้อสัตว์ปีก (สด) -1 ~ +1
   ปลาและอาหารทะเลสด -2 ~ 0
   อาหารกึ่งสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน -21 ~ -18
   อาหารทะเลและเนื้อแข็ง -21 ~ +18
   ไอศกรีม -23 ~ -21


เครื่องต้ม เครื่องอบ เครื่องแผ่รังสีความร้อน หม้อน้ำร้อน หรือเครื่องจักรต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความร้อนบริเวณติดตั้งเครื่องจักรทำความเย็นต้องเป็นบริเวณที่มีการถ่ายเท และระบายอากาศได้สะดวก และให้อยู่ห่างไกลหรือหลีกเลี่ยงจากสิ่งต่อไปนี้

  • หน้าต่างหรือช่องแสงจากเพดาน ที่แสงอาทิตย์จะส่องมากระทบโดยตรง
  • บริเวณจุดอับลม หรือมีแผ่นบังกั้นลม

การนำสินค้าเข้ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังนี้

  • ไม่ควรนำจำนวนสินค้ามากกว่ากำลังความเย็นที่ได้ออกแบบไว้
  • ขณะขนส่งผลิตภัณฑ์ชนิดที่เน่าเสียง่ายมายังห้องเย็น จะต้องขนส่งโดยรถห้องเย็นและอุณหภูมิต้องได้ตามที่ชนิดของสินค้านั้นๆ กำหนดไว้
  • สินค้าที่นำเข้าเก็บในห้องเย็นหรือตู้เย็น จะต้องได้อุณหภูมิตามที่ห้องเย็นนั้นๆ ได้ออกแบบอุณหภูมิไว้
  • สินค้าที่ร้อนจัด หรืออุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิห้องเย็น ห้ามนำเข้าเก็บโดยเด็ดขาด นอกเสียจากว่าห้องเย็นดังกล่าวได้ออกแบบไว้ทำหน้าที่ลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว หรือแช่แข็งได้ (Repid Chilling/Freezing)
  • ผนังฉนวนห้องเย็นภายในและภายนอก ต้องมีสภาพดี และไม่เสียหาย
  • สินค้าไม่ควรวางแนบติดผนังห้องเย็น ควรจะวางห่างเพื่อให้ลมเย็นหมุนเวียนได้
  • ต้องเลี่ยงความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ต่างชนิดที่เก็บอยู่ในบริเวณเดียวกัน ซึ่งอาจจะมีการสัมผัส หรือแพร่เชื้อโรค หรือกลิ่นเข้าหากันได้ (Cross Contaminate)

สุขลักษณะเป็นเรื่องที่สำคัญมากในปัจจุบัน

  • เครื่องจักรทำความเย็นควรจะหมั่นทำความสะอาดทั้งภายนอกและภายในเพื่อป้องกันเชื้อโรคหมักหมม
  • ท่อน้ำทิ้ง, ถาดน้ำทิ้ง หรือท่อลม ไม่ควรให้อุดตันและหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ
  • คอยล์เย็นหมั่นตรวจดูอย่าให้น้ำแข็งจับและหมั่นละลายน้ำแข็งเพื่อรักษาอุณหภูมิและความชื้นให้คงที่

การทำความสะอาดที่ปลอดภัย และอย่างมีประสิทธิ์ภาพ

  • ก่อนอื่นต้องดับไฟฟ้าก่อนโดยการตัดแยกสวิตซ์ไฟฟ้า
  • ตรวจสอบปลอกฉนวนสายไฟได้มีการถลอก หรือเสื่อมสภาพหรือไม่
  • สินค้าทั้งหมดในห้องเย็นต้องย้ายไปยังห้องเย็นอื่นที่มีอุณหภูมิเหมาะสม
  • ผิวภายในควรจะทำความสะอาดด้วยน้ำร้อน และน้ำยาทำความสะอาดผิวอย่างอ่อนๆ (Mild Detergent)
  • อาหารที่ตกออกมาจากภาชนะห่อหุ้ม ขยะหรือเศษผงต่าง ๆ ให้นำออกไปทิ้งให้หมด
  • ควรพิจารณาดูขอบยางวงกบประตู ฮีทเตอร์ และมือจับ ว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่
  • ผิวภายในทั้งหมดจะต้องแห้ง ปราศจากหยดน้ำ
  • ฝุ่นผง สิ่งสกปรก และคราบตะกรัน อาจจะเกาะติดตรงบริเวณคอนเดนเซอร์ (คอยล์ร้อน) ให้ทำความสะอาดพร้อมกันไปด้วย
  • ต้องมีการตรวจสอบอุณหภูมิห้องเย็นว่าได้ตามข้อกำหนด หรือไม่ ก่อนที่จะนำผลิตภัณฑ์สินค้ามาเก็บรักษาอีกครั้ง

การละลายน้ำแข็ง มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • น้ำแข็งบริเวณคอยล์เย็น หรือตามพื้นผิวภายในห้องเย็น เป็นการบ่งบอกว่าจะต้องทำการละลายน้ำแข็งแล้ว
  • การละลายน้ำแข็งแบบอัตโนมัติ จะทำให้อุณหภูมิห้องเย็นสูงขึ้นชั่วขณะ
  • เครื่องจักรหรืออุปกรณ์บางอย่าง อาจจะต้องการความระมัดระวังขณะละลายน้ำแข็ง บางครั้งอาจจะต้องละลายด้วยมือ (Manual Defrost) ให้ศึกษาจากคู่มือของเครื่องจักร
  • ควรละลายน้ำแข็งอย่างสม่ำเสมอตามคู่มือการติดตั้งเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
  • ไม่ควรใช้ของแหลมหรือของมีคมในการกะเทาะ หรือสกัดน้ำแข็ง ซึ่งอาจจะไปทำลายผิวท่อ และครีบถ่ายเทความเย็นให้เสียหายได้
  • ควรจะดูดน้ำยา (Pump Down) ในคอยล์เย็นให้เหลือน้ำยาให้น้อยที่สุดก่อนที่จะละลายน้ำแข็ง เพื่อช่วยให้ละลายน้ำแข็งได้เร็วขึ้นและเกิดความเสี่ยงจาการกระแทกของน้ำยาเหลว (Liquid Hammer)

การตรวจสอบสมรรถนะ

  • ควรจะมีอุปกรณ์อ่านอุณหภูมิของห้องเย็น หรืออุปกรณ์ทุกตัว
  • ควรจะมีฉลากติดบอกแสดงอุณหภูมิที่เหมาะสม และชนิดของสินค้าที่เก็บ
  • อุณหภูมิต้องมีการตรวจเช็ค และบันทึกเป็นช่วงๆ ของเวลา
  • ประตูห้องเย็น หรือตู้เย็นควรจะปิดแน่นตลอดเวลา
  • บริเวณคอยล์ร้อนชนิดระบายด้วยอากาศ หรือบริเวณหอผึ่งน้ำ อีแว็ปปอเรตีฟคอนเดนเซอร์ จะต้องไม่มี สิ่งใดกีดขวาง การถ่ายเทของอากาศ เพื่อที่จะช่วยให้ประหยัดค่าไฟฟ้าลงได้
  • บริเวณหน้าประตูห้องเย็น ควรจะมีม่านพลาสติก หรือ ม่านอากาศซึ่งก็จะช่วยให้ประหยัดค่าไฟฟ้าได้

การบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ

เครื่องทำความเย็นเป็นหัวใจของการรักษา และถนอมอาหารอันมีคุณค่า และต้องทำงานตลอดเวลา อาจจะมีการหยุดพักบ้างเป็นครั้งคราว การบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดเพื่อลดการสูญเสีย เนื่องจากเครื่องเสียและหยุดทำงาน อีกทั้งยังจะช่วยลดค่าใช้จ่ายทางด้าน พลังงานไฟฟ้า ทางท่านยังต้องหมั่นดูแลเรื่องสารทำความเย็นรั่วซึม หรือรั่วไหล โดยต้องมีขั้นตอนการตรวจเช็คตรวจสอบ และซ่อมแซม

ทางบริษัท ไอ.ที.ซี. (1993) จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทำความเย็นยินดีเป็นผู้มีส่วนร่วมให้ธุรกิจของท่านมั่นคงและเจริญก้าวหน้าขึ้นๆ ไป