ถาม-ตอบ เกี่ยวกับระบบทำความเย็น

 เมื่อ Evaporator ทำงานที่อุณหภูมิต่ำจะทำให้มีน้ำแข็งเกาะอยู่ที่ Evaporator อยากทราบว่าวิธีการ Defrost ที่เหมาะสม ควรจะเป็นวิธีใด เพราะเหตุใด

การ Defrost เหมาะสมและประหยัดพลังงานที่สุด เป็นวิธี Hot gas defrost ซึ่งใช้ความร้อนที่มีอยู่ในระบบ โดยดึงเอาความร้อนจากด้าน Discharge ซึ่งเป็นแก๊สที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นมา จากนั้นส่งเข้าไปในคอยล์เย็น ความร้อนของ Hot gas นั้นจะทำให้อุณหภูมิคอยล์เย็นสูงขึ้น ทำให้น้ำแข็งที่เกาะอยู่ที่คอยล์เย็นละลาย นอกจากวิธี Hot gas defrost แล้วก็มีวิธี Electric defrost คือใช้ไฟฟ้า ซึ่งถ้าเป็นห้องเย็นขนาดใหญ่ จะมีความสิ้นเปลือง เพราะต้องใช้ Heater อีกวิธีคือ Water defrost ใช้น้ำละลาย ซึ่งอาจทำให้สินค้าเสียหายได้ และอีกวิธีคือ off cycle defrost คือใช้อากาศซึ่งใช้งานได้ดีกับห้องเย็นที่อุณหภูมิสูงกว่า 0°C เท่านั้นและใช้ไม่ได้ในห้อง Ante เพราะทำให้มีความชื้นเข้ามาในห้อง

 ทำไมการออกแบบการทำความเย็นแบบ Single stage จึงเหมาะสมกับอุณหภูมิ Evap Temp ไม่ต่ำกว่า -15°C

ที่ไม่ต่ำกว่า -15 °C นั้น อันนี้ก็คือเฉพาะของแอมโมเนีย สาเหตุที่แอมโมเนียได้ไม่ต่ำกว่า -15 °C เพราะคุณสมบัติของน้ำยาถ้าเราอัดน้ำยาต่ำกว่า -15 °C ขึ้นมาที่อุณหภูมิ 40 °C มันจะเกิดความร้อนสูงมากกว่า 150 °C ทำให้ Compressor มีอายุการใช้งานสั้น เพราะไหม้ดำ น้ำมันก็ไหม้ดำ เพราะฉะนั้นเราจึงจำกัดอยู่ที่ Evap Temp -15°C จริงๆ แล้วจะให้ดีที่สุด คือ -12 °C ในกรณี Compressor เป็นแบบลูกสูบ แต่ถ้าเป็นแบบสกรู สามารถทำได้ต่ำกว่า -15 °C สาเหตุที่ทำได้ เพราะว่าการอัดแบบสกรู มีการฉีดน้ำมันหล่อลื่นจำนวนหนึ่งผสมกับแก๊สที่กำลังถูกอัด เพราะฉะนั้น ความร้อนในแอมโมเนียที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติจะมีบางส่วนถ่ายเทความร้อนไปกับน้ำมันหล่อลื่น ทำให้มีอุณหภูมิอยู่ในราว 80 °C ถึง 90 °C ซึ่งไม่สูงมากทำให้ Evap Temp สามารถทำได้ต่ำกว่า -15 °C

 อยากรู้ค่า COP เปรียบเทียบระหว่าง Cascade CO2 และ NH3 ในภาวะอุณหภูมิเดียวกัน

คาร์บอนไดออกไซด์ไม่สามารถใช้ที่อุณหภูมิเดียวกันกับแอมโมเนียได้ เพราะว่าคาร์บอนไดออกไซด์ คุณสมบัติของมัน จะมีความดันสูงกว่าแอมโมเนียมาก เช่น ที่อุณหภูมิ 15°C ความดันของ CO2 จะสูงถึงกว่า 20 bar แต่ NH3 อยู่ที่เพียง 2 bar เพราะฉะนั้นเราไม่สามารถเปรียบเทียบตรงนั้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ Critical point ของ CO2 จะถึงแค่ 30°C ถึง 31°C เราไม่สามารถอัดที่สูงกว่า 31°C ได้ ฉะนั้นจะเปรียบเทียบ NH3 ที่อุณหภูมิเดียวกับ CO2 ทำได้ลำบาก

 ถ้าไม่สามารถติดตั้ง Receiver tank ใต้ Evaporative condenser ได้โดยตรงเนื่องจากปัญหาเรื่องพื้นที่ ถ้ามองในเรื่องประหยัดพลังงานแล้วมีผลอย่างไร และมีผลกระทบต่อข้อดีข้อเสียอย่างไร

โดยปกติแล้ว Receiver tank ต้องอยู่ต่ำกว่า Evaporative condenser ถ้า Evaporative condenser ติดอยู่บนดาดฟ้า Receiver tank จะติดอยู่ใต้ถัง Evaporative condenser หรือติดอยู่ในห้องเครื่องก็ได้แต่ถ้าเอา Receiver tank ติดสูงกว่า Evaporative condenser ไม่ได้แน่

 อยากทราบความแตกต่างระหว่าง Open flash inter cooler with sub cooling coil กับ Open flash inter cooler

จุดแตกต่างที่สำคัญคือ อุณหภูมิของน้ำยาที่เราจ่ายเข้าระบบเข้าถัง Low หรือจ่ายเข้าคอล์ย Open flash inter cooler เป็น inter cooler ที่เราสามารถทำให้อุณหภูมิน้ำยาต่ำที่สุด อุณหภูมิน้ำยาในหลักพลังงานแล้วอุณหภูมิน้ำยาที่จ่ายไปถัง Low หรือที่คอล์ย ยิ่งต่ำเท่าไรประสิทธิภาพจะดีขึ้นเท่านั้น เพราะฉะนั้น Open flash inter cooler จะให้ประสิทธิภาพสูงที่สุด

 การเช็ดพื้นให้แห้ง มีผลต่อการประหยัดพลังงานมีเหตุผลอย่างไร

ถ้าพื้นเปียกหรือมีความชื้นสูงในห้องเย็นนั้น เมื่อเดินเครื่องทำงานไปก็จะทำให้มีน้ำแข็งเกาะที่ Evaporator มากขึ้นการที่น้ำแข็งเกาะที่ Evaporator จะทำให้มีการสิ้นเปลืองคือ น้ำแข็งที่เกาะจะทำให้การถ่ายเทความเย็นจาก Evaporator มาใช้งานได้ลดลง ประสิทธิภาพที่ได้ก็ลดลง สร้างความเย็นมาแล้วนำมาใช้งานไม่ได้ ก็คือ การสิ้นเปลือง อีกอย่างคือถ้าห้องมีความชื้นสูง ความชื้นปนไปกับอากาศแล้วไปควบแน่นที่ Evaporator ส่วนนี้ก็คือเราสิ้นเปลืองพลังงานไปเฉยๆ ในการทำให้ความชื้นกลายเป็นน้ำแข็งโดยที่ไม่ทำให้อากาศในห้องเย็นขึ้นเลย เพราะฉะนั้นในการที่พื้นห้องเปียกหรือมีความชื้นสูง ก็ควรทำให้แห้ง เพื่อประหยัดพลังงานได้ดีขึ้น

 กรณีหยุดทำความเย็นห้อง Cold เพื่อประหยัดพลังงานกับการสตาร์ททำงานใหม่ อย่างไหนประหยัดพลังงานไฟฟ้ากว่ากัน

ถ้าเราจะหยุดตาม Schedule ตารางเวลาในการทำความเย็นในช่วงค่าไฟแพง เมื่อมาถึงช่วงค่าไฟต่ำ เราก็เดินเครื่องใหม่เป็นเวลา 14 ชั่วโมง แล้วก็หยุดเดินเครื่องใหม่ แต่ถ้าถามว่ากรณีการสตาร์ทบ่อยๆ กับเดินเครื่องต่อเนื่อง ในกรณีสตาร์ทบ่อยๆ เราจะเข้าใจว่าการสตาร์ทบ่อยๆ การสตาร์ทมอเตอร์ครั้งหนึ่งจะมีการเปลืองไฟมาก เพราะเราดูที่แอมป์มิเตอร์ แล้วแอมป์มิเตอร์มีการกระชาก แต่จริงๆ แล้วช่วงเวลานั้นสั้นมาก แค่ 3 – 6 วินาที แต่ถ้าคิดหน่วยเป็น kWh แทบจะไม่มีผลอะไรเลย หรือถ้าคิดเป็น Demand ก็ไม่มีผลอีกเหมือนกันเพราะว่าการคิดเป็น Demand เป็นการคิดค่าเฉลี่ย kW ที่ใช้ใน 15 นาที การสตาร์ทด้วยแอมป์สูงสุดใน 3 – 6 วินาที เมื่อเฉลี่ยเป็น Demand แล้วมีผลเพียง 1 เปอร์เซ็นต์

 การปรับอุณหภูมิห้องเย็นให้สูงขึ้น หรือปรับอุณหภูมิน้ำเย็นให้สูงขึ้น จะช่วยประหยัดพลังงานอย่างไร และทำได้อย่างไร

เป็นคำถามที่เกี่ยวข้องกับ Evap TD ในส่วนของ Evap TD คือผลต่างของอุณหภูมิในทางเข้า Evaporator กับอุณหภูมิห้องเย็น ส่วนการปรับอุณหภูมิห้องเย็นให้สูงขึ้น คือสูงขึ้นที่สุดโดยอุณหภูมิยังใช้งานได้ เป้าหมายคือการที่อุณหภูมิห้องเย็นที่เราต้องการเท่าไรขอให้เราทำอุณหภูมินั้นได้ แต่ไม่ควรทำให้อุณหภูมิของห้องต่ำเกินไปเพราะถ้าต่ำเกินที่ต้องการจะเกิดผล เช่น อุณหภูมิต้องการที่ -30 °C แต่เราทำอุณหภูมิ -35°C เครื่องต้องทำงานหนักขึ้นและทำให้เครื่อง Drop มากขึ้น ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองมากขึ้น และอีกอย่างถ้าเราทำให้อุณหภูมิของห้องต่ำลงจะยิ่งทำให้ความดันด้าน Low Side ต่ำลงไปด้วยความดันด้าน Low ยิ่งต่ำมากเท่าไรยิ่งจะทำให้ค่า COP ค่าประสิทธิภาพของระบบลดลง สรุปวิธีการที่ดีที่สุด คือเราต้องพยายามทำให้อุณหภูมิห้องสูงที่สุดแต่อุณหภูมิยังต่ำพร้อมที่จะใช้งาน

 ต้องการลดความชื้นในห้อง Line Process และในห้องเย็น ระหว่างการใช้ Cooling Coil และการใช้สารเคมีที่เป็นซิลิกาเจลเพื่อเป็นการประหยัดพลังานไม่ทราบมีข้อเสนอแนะอย่างไร

ถ้าเป็นการใช้ Cooling Coil และการใช้ Heater จะเป็นการเปลืองไฟค่อนข้างมาก ส่วนการซิลิกาเจลก็ต้องมีการ Regenerate คือเมื่อวงล้อดูดความชื้นออกจากอากาศแล้ว วงล้อนั้นจะไล่ความชื้นออกด้วย โดยการใช้ลมร้อน เพราะฉะนั้นตัวเครื่องซิลิกาเจลก็ต้องใช้ Heater ด้วยซึ่งทางเราไม่ทราบข้อมูลจึงเปรียบเทียบไม่ได้ และดังนั้นวงล้อที่ซิลิกาเจลก็ต้องสะสมความร้อนด้วย ทำให้ลมที่ผ่านวงล้อก็มีอุณหภูมิสูงขึ้นด้วย กลับมาในห้อง

 กรณีเดินเครื่องที่ Low temp ต่ำแล้วน้ำมันในคอมเพรสเซอร์จะลดลงหรือหายไป มีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร

ระบบคงจะมีปัญหาที่มีน้ำยา Flooded กลับมาจากด้าน Low side ตลอดเวลา ทำให้น้ำมันในคอมเพรสเซอร์มีแอมโมเนียผสมอยู่ เมื่อเดินเครื่องที่ Low temp ต่ำอุณหภูมิทางดูดก็ต้องต่ำลงด้วย น้ำมันจะระเหยขึ้นไป เดือดขึ้นไปและหายไป จะต้องแก้ไขเรื่องถัง Low ให้มีขนาดเพียงพอเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำยา Flooded กลับมาในคอมเพรสเซอร์ หรือถ้าเป็น Expansion Valve ก็ปรับ Superheat ให้มากขึ้นเพื่อปรับไอน้ำยาที่กลับจากคอล์ยให้เป็นแก๊สอย่างเดียว

 รายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องวิธีการควบคุมอุณหภูมิทางดูดช่างสามารถทำเองได้หรือไม่

วิธีการควบคุมอุณหภูมิทางดูด คือ 
1. ติดตั้ง Suction Pressure Regulator 
2.คอมเพรสเซอร์แบบสกรู ใช้ Microprocessor Control จะปรับอุณหภูมิทางดูดโดยอัตโนมัติ

 น้ำมันหล่อลื่น Hydrotreat ใช้ได้กับเครื่องทำความเย็นแบบใดบ้าง วิธีการเปลี่ยนน้ำมัน Hydrotreat มีวิธีการยุ่งยากหรือไม่

ใช้ได้กับแบบลูกสูบและแบบสกรู สำหรับห้องเย็นที่ใช้น้ำมันธรรมดาเมื่อเปลี่ยนมาใช้น้ำมัน Hydrotreat แล้วเมื่อใช้ไปสักพักก็ทำการถ่ายน้ำยาออกเพราะมันจะผสมกับน้ำมันเก่า แล้วเปลี่ยนใหม่สัก 3-4 ครั้ง

 การ Drain Oil ออกจาก Ice Bank อุณหภูมิที่ Ice Bank ต้องอยู่ที่กี่องศา

ไม่มีข้อจำกัดตรงนี้ว่าอุณหภูมิเท่าไร เพราะน้ำเย็นที่อยู่ใน Ice Bank อยู่ในราว 0 °C น้ำแข็งที่เกาะอยู่ในราว -5 °C ซึ่งน้ำมันที่ใช้อย่างถูกต้องจะสามารถ Drain ได้ออกได้อยู่แล้ว เพราะน้ำมันจะมีจุดไหลเทอยู่ที่ -27 °C จุดไหลเทก็คืออุณหภูมิที่น้ำมันไม่สามารถไหลได้ ซึ่งใน Ice Bank อุณหภูมิต่ำสุดน่าจะอยู่ที่ -10 °C ซึ่งก็ยังสูงกว่าจุดไหลเท จึงยังสามารถ Drain ออกได้อยู่

 การล้างตะกรัน ที่ Evaporative Condenser ทำได้อย่างไร

เบื้องต้นต้องตรวจสอบว่าในน้ำมีสิ่งเจือปนเป็นสารประเภทไหน หินปูนประเภทอะไร โดยต้องนำน้ำที่มีสิ่งเจือปนมาตรวจสอบ และเบื้องต้นก็ต้องทำน้ำให้เป็นกลางหรือแก้ไขในทางต้นเหตุในระบบ Treatment ที่โรงงาน ในกรณีที่ระบบมีปัญหาเราก็จะใช้น้ำยาตัวหนึ่งมาแก้ไขทำให้ตะกรันมันอ่อนตัว แล้วใช้ปั้ม High Pressure ฉีดหรือการเคาะตะกรัน ส่วนการเคาะก็ต้องระวังอย่าใช้เหล็กแหลมหรือมีคมเคาะเพราะอาจเกิดการรั่ว เบื้องต้นก็ใช้สารเคมีช่วยและดูว่ามันเป็นเหล็กชุบกัลวาไนท์หรือเปล่า สารเคมีที่ใช้จะกัดกร่อนหรือเปล่า และน้ำที่ใช้กัดกร่อนต้องมีการ Drain ออกเพราะตะกรันแทนที่จะออก สารเคมีนี้อาจกลายเป็นตะกรันมาเคลือบเอง

 วิธีการเติมสารแอมโมเนียอย่างถูกวิธี

ถ้าเติมก็ปิดเส้น Liquid line จะปลอดภัยที่สุด ถ้าชำนาญหน่อยก็เติมเข้าเส้น Suction ก็ได้ แต่ไม่ใช่ Suction ของ Compressor แต่เป็นของหม้อ Low วิธีที่ถูกต้องที่สุดคือเติมที่ Liquid line และมี Check Valve สายอ่อน หัวเกลียวดีๆ มีอุปกรณ์ PPE ให้ครบ และมี O-Ring ที่ได้มาตรฐาน

 สามารถแก้ปัญหาน้ำยาแอมโมเนียลงคอมเพรสเซอร์ได้อย่างไร

ปัญหานี้มีหลายสาเหตุ เช่น น้ำยากลับทางท่อ Suction, Accumulator เล็กไป, Expansion valve ไม่มี Superheat, เดินเครื่องไม่ถูกขั้นตอน, ถังใหญ่ไม่พอ และมีหลายสาเหตุมากจึงไม่สามารถระบุได้

 การลดช่วงระยะ Defrost ใน IQF จะลดพลังงานได้อย่างไร

การ Defrost ถึงแม้จะใช้ความร้อนจากด้าน Discharge มา Defrost เราจะประหยัดในแง่ ที่เราไม่ต้องใช้ไฟฟ้ามา Defrost แต่การ Defrost นี้มันเป็น Load ของ Compressor เหมือนกัน ทำให้มีการต้องใช้พลังงานอยู่ดีแต่ต้องใช้น้อยกว่า Heater แน่นอน

 มีวิธีการอย่างไรที่ไม่ต้อง Defrost IQF บ่อยๆ

พยายามป้องกันไม่ให้อากาศภายนอกเข้าไป (Infiltration) ก็อยู่ที่โครงสร้าง IQF ว่าจะแก้ไขได้ง่ายหรือยาก ส่วนมาก IQF จะเป็นแบบสำเร็จมาแล้วจะทำการแก้ไขได้ยาก อีกวิธีก็คือ ติดตั้ง IQF ไว้ใน Line Process ถ้าเราสามารถลดความชื้นของห้องได้ก็คือ สามารถลดความชื้นที่จะเข้า IQF ได้ด้วย

 ถ้า Pump down ห้อง Freeze ไม่หมดจะทำอย่างไร

ใช้เทคนิคที่เอาสินค้าที่ยังร้อนอยู่เข้ามา และใช้ Hot gas อัดเข้าไปมันจะช่วยทำให้ แอมโมเนียระเหยหมดไปได้