​ไอเดียเซฟค่าไฟไอซ์แบงก์ตึกเย็น - ข่าวไทยรัฐออนไลน์

จะ​จ่าย​ถูก...จ่าย​แพง ค่า​ไฟฟ้า​ที่​เรา​ต้อง​จ่าย​ทุก​เดือน มี​ส่วนประกอบ​มา​จาก 3 ส่วน...

  • ส่วน​แรก ยูนิต​หรือ​หน่วย หมาย​ถึง​ปริมาณ​ไฟฟ้า​ที่เรา​ใช้​ใน​แต่ละ​เดือน
  • ส่วน​ที่​สอง ค่า​ดีมานด์​หรือ​ค่า​พี​ค ค่า​ความต้องการ​การ​ใช้​ไฟฟ้า ที่​การ​ไฟฟ้า​คิด​เฉลี่ย​ทุก 15 นาที
  • ส่วน​ที่​สาม ค่า​เอฟ​ที ค่า​นี้หลาย​คนคงคุ้นหู หลักการ​คิด​ค่า​เอฟ​ที การ​ไฟฟ้าฯ ​จะ​เอา​ค่า​ยูนิต​มา​คูณ​กับ​ราคา​ค่า​เอฟ​ที

การ​รณรงค์​ประหยัด​พลังงาน ไม่​ว่า ประหยัด​น้ำมัน...ขับ​รถ​ไม่​เกิน 90 กิโลเมตร​ต่อ​ชั่วโมง ปิด​แอร์​ช่วง​พัก​เที่ยง หรือ​ปิด​หลอด​ไฟ​ที่​ไม่ได้​ใช้ วิธี​เหล่า​นี้​ล้วน​เป็น​การ​ลด​ปริมาณ​การ​ใช้​ไฟฟ้า ลด​การ​ใช้​พลังงาน ด้วย​การ​ลด​การ​ทำ​งาน​ของ​อุปกรณ์​ไฟฟ้า โดย​มี​ศัพท์​เทคนิค​เรียก​ว่า..."การ​ลด​งาน (Safe Energy)"

 

ถ้า​จะ​เปลี่ยน​หลอด​ไฟ จาก​หลอด​อ้วน​เป็น​หลอด​ผอม ถึง​จะ​ลดค่าไฟ​ได้​แต่​เรา​จะ​ได้​แสงสว่าง​ลด​ลง ยัง​ไง​หลอด​ผอม​ก็​ให้​แสงสว่าง​น้อย​กว่าหลอดอ้วน แม้แต่​การ​เพิ่ม​ขนาด​สาย​ไฟ​ให้​ใหญ่​ขึ้น   เพื่อ​ให้​กระแส​ไฟฟ้า​วิ่ง​ได้​ดี​ขึ้น ก็เป็น​วิธี​ลด​อัตรา​การ​สูญเสีย​ใน​สาย หรือ​จะ​ติดตั้ง​ระบบ​ปรับ​ความเร็ว​รอบ​มอเตอร์ ก็​ถือว่า​เป็น​การ​ลด​พลังงาน

แต่​ถ้า​เป็น​การ​ประหยัด​พลังงาน​ด้วย​การบริหาร​การ​ใช้​ไฟฟ้า  ศัพท์เทคนิค​เรียก​ว่า การ​ลด​ค่า​ดีมานด์ (Demand) หรือ ลด​ค่า​ปริมาณ​ความต้องการ​พลังงาน​ไฟฟ้า วิธี​นี้​ถือ​เป็น​หัวใจ​สำคัญ​ของ​การ​ประหยัด​พลังงาน ไม่​ต้อง​เสีย​ค่า​ใช้​จ่าย แค่​ปรับ​พฤติกรรม​การ​ใช้​ไฟฟ้า แต่​ก็​ยัง​ได้​งาน​เท่า​เดิม


ดร.​อภิ​ชิต  ​เป็น​วิศวกร​คน​ไทย​ที่​มี​ฝีมือ​ระดับ​โลก ได้​รับ​รางวัล​ที่ 1 จาก​สถาบัน​ด้าน​พลังงาน​ระดับ​โลก ASHRAE  FELLOW AWARD ประเทศ​สหรัฐอเมริกาลอง​มา​ดู​ไอเดีย​เซฟ​ค่า​ไฟ​แบบ​ใหม่ ฉบับ​ภูมิปัญญา​ไทย​ที่​ฝรั่ง​ต้องยกนิ้ว​ให้ ที่​เรียก​ว่า "ไอ​ซ์​แบงก์ (Ice Bank)" ถือ​เป็น​นวัตกรรม​ต้นแบบ​ที่​ไม่เคย​เกิด​ขึ้น​ที่​ใด​ใน​โลก เป็น​แนว​คิด​ของ ดร.​อภิ​ชิต ล้ำเลิศ​พง​ศ์​พนา ลูกคนจีน​ชา​วสุ​ไหง​โก-ลก พ่อ​แม่​ขาย​กาแฟ​ฐานะ​ยากจน   แต่​ด้วย​ความ​รัก​เรียน ลูกจีน​คน​นี้​ก็​สู้​ชีวิต จน​กลาย​เป็น​ผู้​บริหาร​กลุ่ม​บริษัท ​ไอ.ที.ซี. จำกัด ผู้​ออก​แบบระบบ​ทำ​ความ​เย็น​ธุรกิจ​อาหาร​แช่​แข็ง​ให้​กับ​บริษัท​ชั้น​นำ​ทั้ง​ใน​ไทย​และ​ต่าง​ประเทศ

รางวัล ASHRAE จะ​มอบ​ให้​แก่​องค์กร​ที่​ผลิต​ระบบ​หรือ​อุปกรณ์​การ​ทำ​ความ​เย็น​ที่​ไม่​เกิด​มลพิษ​และลด​โลก​ร้อน ประหยัด​การ​ใช้​พลังงาน ขณะ​เดียวกัน​ก็​จะ​ต้อง​ทำ​ความ​เย็น​ได้​มาตรฐาน วัด​ออก​มา​เป็น​ผล​พิสูจน์​ทาง​วิทยาศาสตร์ หมาย​ถึง​ว่า ​กระบวนการ​หรือ​วิธี​คิด​จะ​ต้อง​เกิด​เป็น​รูปธรรม​เรียบร้อย​แล้ว จึง​ส่ง​เข้า​ประกวด​ได้

"ไอ​ซ์​แบงก์ (Ice Bank)" คือ​ ออฟฟิศ​โมเดล​ต้นแบบ​ที่​คิดค้น​ขึ้นจาก​พื้นฐาน​ความ​รู้​ใน​เรื่อง​พลังงาน ใช้​หลักการ​ทำ​ความ​เย็น​กับ​น้ำ​ให้​กลายเป็น​น้ำแข็ง​ใน​ช่วง​กลางคืน ที่​เรียก​ว่า​ออ​ฟ​พี​ค หรือ​ช่วง​เวลา 22.00-09.00 น.

จาก​การ​เก็บ​สถิติ​การ​ใช้​ไฟฟ้า พบ​ว่าเวลา​ช่วง​นี้​ความต้องการ​พลังงาน​ไฟฟ้า​มี​ไม่​มาก​ประกอบ​กับการ​คิด​ราคา​ค่า​พลังงาน​ไฟฟ้า (กิโล​วัตต์​ต่อ​ชั่วโมง) จะ​มี​ราคา​ถูกกว่า​ใน​ช่วง​กลางวัน ช่วง​เวลา​ทำ​งาน 09.00-21.00น.  ซึ่ง​มี​ค่า​เฉลี่ย​ของ​การ​ใช้​พลังงาน​ไฟฟ้า​สูงและ​อัตรา​ค่า​พลังงาน​ไฟฟ้า​มี​ราคา​แพง​กว่า​กลางคืน

หลักการ​ง่ายๆ มี​ว่า ช่วง​เวลา​ที่​ค่า​ไฟ​ถูก ระบบ​จะ​ทำ​น้ำแข็งแล้วก็​จะ​ทำ​การ​ละลาย​น้ำแข็ง​ให้​เป็น​น้ำ​เย็น​เพื่อ​ปล่อย​ความ​เย็น​ออก​มา​ใช้​ใน​ช่วง​เวลา​ที่​ค่า​ไฟ​แพง ลด​การ​ใช้​แอร์​และ​พลังงาน​ไฟฟ้า ดร.​อภิ​ชิต บอก​ว่า ไอ​ซ์​แบงก์​ทำ​งาน​โดย​วิธีการ​จับ​ก๊าซ​คาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) ที่​มี​อยู่​แล้ว​ใน​อากาศ​ทั่วไป​ซึ่ง​เกิด​มา​จาก​การ​เผา​ไหม้​แม้แต่​การ​หายใจ​ของ​คน​ที่​เกิด​ขึ้น​อยู่​ทุก​วัน นำ​มา​อัด​ให้​อยู่​ใน​ท่อ​วงจร​ของ​แอร์คอนดิชั่น เพื่อ​ใช้​เป็น​น้ำยา​ตัว​หนึ่ง​ใน​ระบบ

"สาร​ทำ​ความ​เย็น R404a มี​ศักยภาพ​ดูด​ความ​ร้อน​ก๊าซ​เรือน​กระจก ซึ่ง​เป็น​สาเหตุ​ของ​ภาวะ​โลก​ร้อน นอกจาก​นี้​ยัง​ไม่​ทำลาย​ชั้น​บรรยากาศโอโซน เท่ากับ​เป็น​การ​ดึง​ก๊าซ​เรือน​กระจก​ใน​ธรรมชาติ​มา​ใช้​ให้​เป็น​ประโยชน์"

เปรียบเทียบ​ง่ายๆ ว่า​ปกติ​มี​การ​นำ​คาร์บอนไดออกไซด์​เกิด​จาก​การ​เผา​ป่า​หรือ​ใน​อุตสาหกรรม​ปิโตรเคมี มา​ขาย​ให้​บริษัท​ที่​ผลิต​น้ำอัดลม หรือ​การ​ทำ​น้ำแข็งแห้ง และ​ทุก​ครั้ง​ที่​เรา​เปิด​ขวด​น้ำอัดลม หรือ​เมื่อ​น้ำแข็งแห้ง​ละลาย​เป็น​น้ำ จะ​มี​คาร์บอนไดออกไซด์​กลับ​ออก​มา​สู่​ชั้น​บรรยากาศ​อีก

"แต่​ถ้า​เรา​จับ​คาร์บอนไดออกไซด์​มา​อยู่​ใน​ท่อ​แอร์​ให้​เป็น​น้ำยาตัวหนึ่ง น้ำยา​จะ​รั่ว​ไม่ได้ หาก​รั่ว​ก็​จะ​รู้​ได้​ทันที​เพราะ​แอร์​จะ​ไม่​เย็น นั่น​คือ​ช่วย​ใน​การ​ไม่​ปล่อย​คาร์บอนไดออกไซด์​ไป​สู่​ชั้น​บรรยากาศ​อีก​ทาง​หนึ่ง"

กลไก​การ​เก็บ​สะสม​พลังงาน​ใน​รูป​น้ำแข็ง​สำหรับ​ออฟฟิศ​ใหม่​นี้ ทำ​โดย​การ​ติดตั้ง​คอยล์​ไอ​ซ์​แบงก์ แช่​ใน​บ่อ​เก็บ​น้ำ​แล้ว​ให้​สาร​ทำ​ความ​เย็น​ไหล​ผ่าน​ใน​ท่อ​ของ​คอยล์​ไอ​ซ์​แบงก์ สาร​ทำ​ความ​เย็น​ที่​ใช้​มี​อุณหภูมิ​ต่ำ​ติดลบ แต่​ที่​จุด​เปลี่ยน​ของ​น้ำแข็ง​อยู่​ที่​อุณหภูมิ​เพียง 0 องศา​เซลเซียส จึง​ทำให้​น้ำ​ใน​บ่อ​จับเป็น​น้ำแข็ง​ที่​ผิว​นอก​คอยล์​ไอ​ซ์​แบงก์​และ​หนา​ขึ้น​จน​พลังงาน​ที่​เก็บ​สะสม​เพียงพอ​กับ​โหล​ด​การ​ปรับอากาศ​ใน​อาคาร​ที่​ต้องการ

"ช่วง​กลางวัน​เมื่อ​ต้องการ​ใช้​ระบบ​ปรับอากาศ​ ระบบ​ก็​จะ​ทำ​การ​ปั๊ม​น้ำ​มา​หมุนเวียน​ใน​บ่อ​ไอ​ซ์​แบงก์ โดย​มี​อุปกรณ์​เป่า​ลม ช่วย​ใน​การ​ถ่ายเท​ความ​ร้อน​ระหว่าง​น้ำ​กับ​น้ำแข็ง​ให้​ดี​ยิ่ง​ขึ้น เมื่อ​น้ำแข็ง​เริ่ม​ละลาย​ทำให้​ได้​น้ำ​เย็น​ที่​จะ​ไป​จ่าย​ตาม​ใบพัด​ลม​ใน​ห้อง​ต่างๆ เพื่อ​ดึง​ความ​ร้อน​ออก​จากห้อง"

น้ำ​ที่​ไหล​เวียน​มี​อุณหภูมิ​สูง​ขึ้น ก็​จะ​นำ​ความ​ร้อน​นี้​มา​ใช้​ละลาย​น้ำแข็ง​ทำให้​อุณหภูมิ​น้ำ​ต่ำ​ลง​เป็น​น้ำ​เย็น​อีก​ครั้ง​แล้ว​หมุนเวียน​ใช้​ใน​ขบวนการ​ของ​ระบบ​ปรับอากาศ​ต่อ​ไป

ชัดเจน​ว่า​คอมเพรสเซอร์​และ​คอนเดนเซอร์​ ซึ่ง​เป็น​อุปกรณ์​หลัก​ใน​ระบบ​ทำ​ความ​เย็น จะ​ทำ​งาน​เฉพาะ​ตอน​กลางคืน​เพื่อ​เก็บ​สะสมพลังงาน ส่วนกลาง​วัน​ก็​มี​เพียง​อุปกรณ์​ที่​ใช้​ไฟ​ไม่​มาก​ยัง​คง​ทำ​งาน​เท่านั้น​เพื่อเป็น​การ​หลบ​ช่วง​เวลา​เร่ง​การ​ใช้​ไฟ​สูง​สุด​และ​มี​อัตรา​ค่า​ไฟ​สูง​กว่า

"เรา​กำลัง​ก่อสร้าง​ออฟฟิศ​แห่ง​ใหม่​ที่​รามคำแหง 114 ที่​นี่​จะ​นำ​ระบบ​การบริหาร​การ​จัดการ​พลังงาน​แบบ​ไอ​ซ์​แบงก์​มา​ใช้ เพื่อ​ให้​เป็น​อาคารสำนักงาน​ต้นแบบ​ให้​เป็น​ศูนย์​เรียนรู้​สำหรับ​ผู้​สนใจ​นำ​ไป​ประยุกต์​ใช้ คาด​ว่า​จะ​เสร็จ​ต้น​ปี​หน้า มี​พื้นที่​การ​ใช้สอย 3,000 ตาราง​เมตร มูลค่า​การ​ก่อสร้าง 120 ล้าน​บาท"

ออฟฟิศ​ต้นแบบ​ที่​ใคร​เห็น​ต้นทุน​แล้ว​บอก​ว่า​แพง ดร.​อภิ​ชิต แจง​ว่า ลงทุน​ค่า​แอร์​คอนดิชั่น​ใน​ระบบ เป็น​มูลค่า 10 ล้าน​บาท เปรียบเทียบ​กับ​การ​ลงทุน​ติดตั้ง​แอร์​ธรรมดา​จะ​ใช้​เงิน​เพียง 6 ล้าน​บาท แต่​การ​ใช้​ติดตั้ง​ระบบ​ไอ​ซ์​แบ​งก์ จะ​ทำให้​ดี​มา​น​ชาร์ต​หาย​ไป ทำให้​ค่า​เอฟ​ที​ลด​ลง ทำให้​ประหยัด​ค่า​ไฟฟ้า

"ใน​ระยะ​ยาว​จะ​ส่ง​ผล​ต่อ​ค่า​ไฟฟ้า​ใน​แต่ละ​เดือน​ให้​ถูก​ลง เคย​คำนวณ​เล่นๆ​ แอร์​คอนดิชั่น ทั่วไป​จะ​จ่าย​ค่า​ไฟ​เดือน​ละ 106,000 บาท ขณะ​ที่​ระบบ​ไอ​ซ์​แบงก์​จะ​เสีย​ค่า​ไฟ 88,000 บาท​ต่อ​เดือน​เท่านั้น"

ลงทุน​สูง​กว่า​ครั้ง​แรก​แต่​คุ้มค่า​มาก​กว่า​ใน​ระยะ​ยาว ยิ่ง​ใน​ธุรกิจ​อุตสาหกรรม​หรือ​ตึก​ของ​บิ​สิ​เนสเซ็นเตอร์​บน​พื้นที่ 1 ไร่​เศษ ​ต้อง​เสีย​ค่า​ไฟ​ไป​กับ​ระบบ​ทำ​ความ​เย็น​มูลค่า​ถึง 60% แต่​หาก​เปลี่ยน​มา​ใช้​ระบบ​นี้​ทดแทน​ในระบบ​การ​ทำ​ความ​เย็น​จะ​ช่วย​ประหยัด​ไฟ​ได้​มาก​กว่า​มาก

ภาพ​ใหญ่ใน​ทา​งม​ห​ภาค การ​ใช้​ไฟ​น้อย​ลง​จะ​ช่วย​ทำให้​มี​พลังงาน​เหลือ​เพื่อ​ใช้​ใน​ภาค​อุตสาหกรรม หลาย​คน​อาจ​ไม่​ทราบ​ว่า เขื่อน​ต้อง​เดิน​เครื่อง​ผลิต​ไฟฟ้า​ตลอด​เวลา​และ​ทำ​งาน​เท่า​กัน​ทั้ง​กลางวัน​กลางคืน ​แต่​ช่วง​กลางคืน หาก​มี​การ​ใช้​ไฟฟ้า​ใน​เวลา​กลางคืน​เพิ่ม​ขึ้น ก็​จะ​เป็น​การ​สร้าง​สมดุล​การ​ใช้​ไฟฟ้า​ให้​กับ​ประเทศ​ใน​ภาพ​รวม​ด้วย

มอง​ไกล​ออก​ไป​อีก​ยิ่ง​ประหยัด​การ​ใช้​ไฟฟ้า​ได้​มาก​เท่า​ไหร่  เรา​ก็ยิ่งช่วย​ชะล​อ​เวลา​ใน​การ​สร้าง​โรงไฟฟ้า​ได้​ใน​ภาวะ​ที่​ประเทศ​ยัง​มี​ความต้องการ​ใช้​พลังงาน​ไฟฟ้า​สูง นอกจาก​นี้​ยัง​ช่วย​ลด​ปัจจัย​อื่นๆ ที่​มี​ผล​ต่อ​สิ่งแวดล้อมไม่ว่า​เรื่อง​ของ​คาร์บอน​เครดิต​หรือ​คาร์บอน​ฟุต​พ​ริน​ต์ ที่​ส่ง​ผล​ให้​เกิด​ภาวะ​โลกร้อน​ให้​ลด​ลง

ปัญหา​ท้าย​สุด​ของ​ไอเดีย​ภูมิปัญญา​ไทย​ที่​บรรเจิด  แม้​ระบบ​ไอ​ซ์​แบงก์​จะ​มี​มา​นาน​แล้ว แต่​ยัง​ไม่ค่อย​มี​ใคร​ให้​ความ​สำคัญ หยิบ​จับ​มา​จัดการ​เป็น​รูปธรรม ดร.​อภิ​ชิต ล้ำเลิศ​พง​ศ์​พนา ฝาก​ทิ้งท้าย​ว่า

"พลังงาน​แพง น้ำมัน  ​แก๊ส ราคา​พุ่ง​ขึ้น​ทุก​วี่วัน ถึง​เวลา​แล้วหรือยัง​ที่​จะ​ศึกษา​ประโยชน์ ความ​ได้​เปรียบ​เรื่อง​การ​จัดการ​พลังงาน​และ​พลังงาน​ทาง​เลือก​อย่าง​จริงจัง"

:: อ้างอิง : http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/308672

<< กลับหน้ากิจกรรมทั้งหมด